การซื้อและลิขสิทธิ์เพลง


ขั้นตอนการซื้อเพลงจาก Produzer.me

เพลงในระบบ แบ่งตามประเภทการขายได้ 2 แบบคือ

  1. Exclusive คือการซื้อ-ขายขาด เป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ผู้ซื้อสามารถนำไปแต่งเนื้อเพลงได้อย่างอิสระ เขียนเนื้อเพลงเองได้ หรือให้คนอื่นเขียน หรือใช้บริการนักเขียนเพลงจากใน Produzer.me , เปลี่ยนทำนองเองได้ หรือนำไปแก้ไข – เรียบเรียงดนตรีใหม่ได้ (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบไฟล์ที่ผู้แต่งเพลงส่งมาจำหน่ายบนระบบ บางเพลงมีแยกแทร็ค บางเพลงรวมมาเป็นแทร็คเดียว เป็นต้น) ผู้ซื้อนำไปจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ และสร้างรายได้ ได้ตามปกติ หรือแม้แต่นำเพลงไปจำหน่ายต่อแก่ผู้ซื้อรายอื่น โดยเครดิตต่าง ๆ เป็นไปตามผู้ผลิต เนื้อร้อง , ทำนอง , เรียบเรียง เพลงนั้น ๆ
  2. Non Exclusive คืองานเพลงที่ซื้อได้ไม่จำกัดจำนวนคนซื้อ มีคนมาซื้อซ้ำได้เรื่อยๆ โดยส่วนมากราคาจะถูกกว่าเพลงแบบ Exclusive ผู้ซื้อสามารถนำไปแต่งเนื้อเพลงได้อย่างอิสระ เขียนเนื้อเพลงเองได้ หรือให้คนอื่นเขียน หรือใช้บริการนักเขียนเพลงจากใน Produzer.me, เปลี่ยนทำนองได้ นำไปจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ และสร้างรายได้ ได้ตามปกติ หรือแม้แต่นำเพลงไปจำหน่ายต่อแก่ผู้ซื้อรายอื่น แต่ไม่สามารถนำไปแก้ไขดนตรีใหม่ได้ โดยเครดิตต่าง ๆ เป็นไปตามผู้ผลิต เนื้อร้อง , ทำนอง , เรียบเรียง เพลงนั้น ๆ

ลักษณะการใช้งาน หลังจากซื้อเพลงใน Produzer.me

  1. สามารถนำไปบันทึกเสียงได้เองทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อัดเสียงจากมือถือ , คอมพิวเตอร์ , ห้องบันทึกเสียงทั่วไป หรือใช้บริการห้องบันทึกเสียงที่มีใน Produzer.me
  2. หลังจากบันทึกเสียงเสร็จ ผู้ซื้อสามารถนำไปใช้งาน หรือจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ และสร้างรายได้ ได้ตามปกติ ลิขสิทธิ์ไม่มีวันหมดอายุ นำไปใช้งานได้ทุกเมื่อ แต่ผู้แต่งยังคงได้รับเครดิตการแต่งตามปกติ ทั้งเนื้อร้อง , ทำนอง และเรียงเรียง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการแก้ไข ปรับเปลี่ยน จนเป็นเวอร์ชั่นนั้น ๆ ที่ออกจำหน่ายหรือใช้งาน บางครั้งอาจจะไม่ได้ใช้เนื้อเพลงที่ซื้อไป หรือผู้ซื้อนำไปแก้ไขทำนองเพลงใหม่ ก็เป็นเครดิตของคนแต่งคนใหม่นั้น ๆ
  3. รายได้จากการที่ผู้ซื้อนำไปผลิตผลงานเพลง และออกจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องแบ่งรายได้ใด ๆ ให้คนเขียนเพลง แต่การจำหน่ายเพลงในรูปแบบ “ดนตรีกรรม” ที่ประกอบไปด้วย เนื้อร้อง และ ทำนอง ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายในรูปแบบ Digital หรือการใช้งานในสถานประกอบการต่าง ๆ เช่น การเปิดเพลง , การแสดงคอนเสิร์ต เป็นต้น จะมีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติอยู่แล้วโดยบริษัทลิขสิทธิ์สากล ซึ่งในประเทศไทยมีตัวแทนคือบริษัท MCT (Music Copyright Thailand) ซึ่งผู้แต่งต้องมีการยื่นเอกสารเพื่อสมัครเป็นสมาชิก MCT ก่อน จึงจะได้รับส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์ในส่วนนี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mct.in.th/
  4. การสร้างรายได้ในรูปแบบ Digital , Streaming และ Social Network สามารถทำได้ทั้งเพลงประเภท Exclusive และ Non Exclusive โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. เพลงประเภท Exclusive สามารถสร้างรายได้รูปแบบ Digital ได้อย่างอิสระ อาทิเช่น การจำหน่ายเพลงบน iTunes , JOOX , Spotify ฯลฯ รวมทั้งการสร้างรายได้จาก Youtube เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว (ค่าลิขสิทธิ์ใน “งานดนตรีกรรม” จะมีการจัดเก็บให้คนเขียนเพลงโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว โดยบริษัทลิขสิทธิ์สากล)
  2. เพลงประเภท Non Exclusive สามารถสร้างรายได้รูปแบบ Digital ได้ อาทิเช่น การจำหน่ายเพลงบน iTunes , JOOX , Spotify ฯลฯ (ค่าลิขสิทธิ์ใน “งานดนตรีกรรม” จะมีการจัดเก็บให้คนเขียนเพลงโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว โดยบริษัทลิขสิทธิ์สากล) แต่การสร้างรายได้จาก Youtube จะมีการเคลมค่าลิขสิทธิ์เพลงจาก Produzer.me ซึ่ง ยังสามารถเปิดดูคลิปได้ตามปกติ

เอาเพลงขายบน iTunes / Joox / Spotify ต้องทำไง

สอบถามได้ที่

https://www.facebook.com/WeAreMUSA/

ลิขสิทธิ์ในตัวเพลงเป็นของใคร?

งานลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับเพลงนั้น ๆ โดยดั้งเดิมได้แก่ งานดนตรีกรรม ซึ่งก็คือ งานทำนอง/คำร้อง ที่สร้างสรรค์โดยคนเขียนเพลง ส่วนงานเรียบเรียง คือการเรียบเรียงเสียงประสานของดนตรี เรียกว่า งานบันทึกเสียง เครดิตทั้งหมด เป็นของผู้ผลิตดั้งเดิมของเพลงนั้น ๆ

ข้อมูลอ้างอิงจาก:

http://www.mct.in.th/copyright.php?LanGuage=TH